“สั่นสะเทือนต่อ ทายาทตระกูล “หงษ์หยก”เมืองภูเก็ต”

7862
นาง มิชิโก๊ะ หงษ์หยก ภริยา โดยชอบด้วยกฏหมาย ของ หลวงอานุภาษภูเก็ตการ

เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกา”ของนางมิชิโก๊ะ หงษ์หยก 1 ในภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของหลวงอานุภาษภูเก็ต ผู้ร้องที่ 1 และ มีบุตรชายคือ นายชูศักดิ์ หงษ์หยก เป็น ผู้ร้องที่ 2 ของศาลจังหวัดภูเก็ต คดีหมายเลขดำ พ.82/ 2522 หมายเลขแดง พ.85/2522 และ มี นาง บุญศรี หงษ์หยก ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นสะใภ้ วัย 101 ปี โดยศาลจังหวัดภูเก็ต ได้อ่านคำสั่งของศาลฎีกา ไปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิ กายน 2567 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 3 ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้

โดยมี นางกมลลักษณ์ หงษ์หยก ผู้รับมอบอำนาจจาก นางมิชิโก๊ะ หงส์หยก ผู้ร้องที่ 1และ ทายาท คือ นายชูศักดิ์ หงษ์หยก ผู้ร้องที่ 2 มาฟังคำสั่งอย่างพร้อมเพรียง ส่วนฝ่ายผู้คัดค้าน คือ นางบุญศรี หงษ์หยก วัย 101 ปี ไม่ได้มาฟังคำสั่งด้วยตนเอง แต่ส่งทนายความมาฟังคำสั่งแทน ซึ่งหลังศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดภูเก็ต ได้อ่านคำสั่งว่าศาลฎีกาได้รับฎีกาของผู้ร้องทั้งสองไว้พิจารณาแล้วนั้น ทางฝ่ายผู้คัดค้าน ก็จะต้องรีบทำการแก้ฎีกาภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งหากครบกำหนดแล้วปรากฏว่าฝ่ายผู้คัดค้านไม่แก้ฎีกาถือว่าไม่ติดใจแต่อย่างใด

นายชูศักดิ์ หงษ์หยก ทายาท (ผู้ร้องที่ 2) , นางกมลลักษณ์ หงษ์หยก (ผู้ร้องที่ 1 ) กราบวิงวอน” ท่านประธานศาลฎีกา “สอบข้อเท็จจริงสำนวนคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

” ซึ่งเรื่องนี้สร้างความฮือฮาให้กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตและสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่มีผู้ใดทราบมาก่อนว่า ” หลวงอานุภาษภูเก็ตการ ” จะมีภรรยาเป็นชาวญี่ปุ่นด้วย ชื่อเดิม ” มิชิโก๊ะ อีซีฮารา ” และมีการจดทะเบียนสมรสด้วยคือเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งและมีทายาทด้วยกันเป็นชายคือ นายชูศักดิ์ หงษ์หยก คือผู้ร้องในคดีนี้นี่เอง ซึ่งนับว่า เป็นที่ฮือฮามาก เพราะเป็นภรรยาชาวญี่ปุ่นคนสุดท้ายและมีบุตรชายแต่ถูกปกปิดมาโดยตลอด กระทั่งมีคดีขึ้นโรงขึ้นศาลที่จังหวัดภูเก็ตมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการมรดกของหลวงอานุภาษภูเก็ตการ เชื่อว่าทรัพย์มรดก มี มาก กว่า 10,000 ล้านบาทว่า ผู้ใดจะได้เป็นผู้จัดการมรดกถูกตามกฎหมาย ไม่ใช่มาจากการฉ้อฉล หรือ สำแดงพยานหลักฐานต่อศาล โดยคดีนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางของการร้องเป็นผู้จัดการมรดกว่า ” บุคคลที่ร้องเป็นผู้จัดการมรดกนั้น “มีอายุ มากถึง 101 ปี จะจัดการมรดกได้หรือไม่ เพราะมีแต่การมอบอำนาจให้บุคคลอื่น กระทำการแทนตนเองทั้งสิ้น และ ผู้มอบอำนาจวัย101ปีที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็ยังไม่เคยปรา กฏ ตัวต่อหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต แต่อย่างใด จึงเป็นเริ่องที่น่าเคลือบแคลงสงสัยอย่างยิ่งว่า” ด้วยวัย 101ปี เกี่ยวกับ สุขภาพ ,สติสัมป ชัญะ ความสามารถสมบูรณ์ หรือไม่

เรื่องนี้ เป็นที่ความเคลือบแคลงสงสัยมาตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบันเป็นเรื่องที่ท้าทาย และจะต้องมีการพิสูจน์ และตรวจสอบจาก ท่านประธานศาลฎีกาคนปัจจุบัน” นางชนากานต์ ธีรเวชกุล ” ที่พึ่งสุดท้ายของกระบวนการยุติธรรม เพราะคดีนี้อึมครึมมาโดยตลอด !!!!

- Advertisement -