ข้อบังคับสมาคมสมาพันธ์นักข่าว

หมวดที่ 1 ความทั่วไป

ข้อที่ 1 สมาคม เรียกว่า “สมาคมสมาพันธ์นักข่าว” มีชื่อย่อว่า “สสนข” ชื่อภาษาอังกฤษว่า “THE JOURNALISTS CONFEDERATION ASSOCIATION” มีชื่อย่อว่า “TJCA” 
 
ข้อ 2 ในข้อบังคับนี้ 
 
“สมาคม” หมายถึง สมาคมสมาพันธ์นักข่าว
 
“คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการสมาคมสมาพันธ์นักข่าว
 
“กรรมการ” หมายถึง กรรมการสมาคมสมาพันธ์นักข่าว
 
“สมาชิก” หมายถึง องค์กรสมาคมสมาพันธ์นักข่าว
 
“ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน” หมายถึง เจ้าของหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาบรรณาธิการ สื่อมวลชนในสื่อออนไลน์ สื่อเคเบิลทีวี
 
 “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายถึง บรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร หัวหน้ากองบรรณาธิการ นักจัดรายการวิทยุ ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ พิธีกรรายการ หรือตำแหน่งควบคุมและดำเนินการงานกองบรรณาธิการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึง นักข่าว ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ ผู้เขียนข่าว ผู้เขียนบทความ ผู้ถ่ายภาพ ผู้เขียนภาพ ผู้ที่ทำงานอยู่ในกองบรรณาธิการ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับฝ่ายบรรณาธิการหรือบุคคลอื่น ตามที่สมาคมสมาพันธ์นักข่าวกำหนด
 
ข้อที่ 3 ตราสัญลักษณ์สมาคมลักษณะเป็นนกพิราบขาวคาบปากกาคอแร้งเขียนคำว่า สมาคมสมาพันธ์นักข่าว มีกล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ และพิมพ์ดีดอยู่ใต้นกพิราบ มีอักษรย่อภาษาอังกฤษด้านล่าง TJCA มีสีส้มเป็นพื้นหลังวงกลมเล็กภายใน มีอักษรสีน้ำเงิน สมาคมสมาพันธ์นักข่าว เป็นภาษาไทย อยู่วงกลมด้านบน และอักษรสีน้ำเงินภาษาอังกฤษ THE JOURNALISTS CONFEDERATION ASSOCIATION อยู่ในวงกลมด้านล่าง 
 
สีประจำสมาคม • สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน
 
สีส้ม       หมายถึง พลัง ความกระตือรือร้น
 
สีขาว       หมายถึง ความบริสุทธิ์
 
สีน้ำเงิน    หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
 
ข้อที่ 4 สำนักงานใหญ่ของสมาคมฯ ตั้งอยู่เลขที่ 1109 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
 
ข้อที่ 5 สมาคมสมาพันธ์นักข่าว มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
 
 (1) เพื่อพิทักษ์สิทธิ และส่งเสริมเกียรติศักดิ์ศรีของสมาชิก
 
(2)  เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ ให้มีความรับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
 
  (3) เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ และสนับสนุนสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข่าวสาร การแสดงความคิดเห็นของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข
 
  (4) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการประกอบวิชาชีพ และกิจการหนังสือพิมพ์ กิจการวิทยุและโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
 
  (5) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน นำเสนอข้อมูลด้วยความถูกต้องเป็นกลาง
 
  (6) เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคีและให้ความร่วมมือระหว่างสมาชิก และเพื่อนร่วมวิชาชีพทั้งในประเทศ และต่างประเทศ  
 
  (7) เพื่อดำเนินการ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศล เพื่อการกุศลหรือองค์การสาธารณประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์   
 
  (8) เพื่อจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกของสมาพันธ์สมาคม
 
  (9) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างชนในชาติ สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ เพื่อยังสันติสุข ภราดรภาพ เคารพในสิทธิมนุษยชน ตลอดจนความอยู่ดีกินดีให้เกิดขึ้นในโลก
 
ข้อ 6 สมาคมสมาพันธ์นักข่าว มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
 
  (๑) กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก และผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ ในสังกัดให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ข้อบังคับ และระเบียบปฏิบัติอื่น ตามที่คณะกรรมการกำหนด
 
  (๒) ให้การศึกษาอบรมด้านวิชาการแก่ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ สื่อออนไลน์
 
  (๓) เผยแพร่ ประกาศ รายงานการประชุม งาน คำวินิจฉัย และคำสั่งของสมาพันธ์สมาคมนักข่าวประเทศไทย ต่อสาธารณะเป็นประจำ

หมวดที่ 2
 ประเภทและคุณสมบัติของสมาชิก

ข้อที่ 7 สมาชิกสมาคม มี 3 ประเภท คือ
 
•สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติหรือผู้มีอุปการคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะผู้บริหารสมาคมฯลงมติให้เชิญเป็นสมาชิกของสมาพันธ์สมาคมฯ 
 
 • สมาชิกสามัญ ได้แก่ คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในสื่อออนไลน์ เคเบิลทีวี  นักข่าว ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ นักจัดรายการวิทยุ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ หรือผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ หรือองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
 
•สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ บุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีความสนใจในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกส่งข่าว ภาพข่าว 
 
ข้อที่ 8 การชำระเงินบำรุงสมาคม 
 
(1) สมาชิกสามัญ ชำระค่าบำรุงสมาพันธ์สมาคมตลอดชีพครั้งเดียว 2,000 บาท
 
(2) สมาชิกวิสามัญ ชำระค่าบำรุงสมาพันธ์สมาคมเป็นราย 5 ปี  500 บาท
 
(3) ค่าบำรุงพิเศษ สมาคมอาจเรียกเก็บค่าบำรุงพิเศษจากสมาชิกเพิ่มเติมได้เป็นครั้งคราว โดยที่ประชุมใหญ่ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมด
 
ข้อที่ 9 คุณสมบัติของสมาชิก สมาชิกสมาคมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
 
(1) ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
 
ก.เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
 
ข.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
 
ค.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลไร้ความสามรถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
 
ง.ไม่เคยเป็นบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกพิพากษาถึงที่สุดของศาลมาก่อน เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่อัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือความผิดซึ่งกระทำโดยประมาท
 
จ.ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นโรคอันเป็นที่รังเกียจของสังคม
 
(2) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลหรือคณะบุคคล ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลหรือของคณะบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ9(1) สมาชิกที่เป็นนิติบุคคลหรือคณะบุคคลต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดา เพื่อปฏิบัติการในหน้าที่และมีอำนาจแทนนิติบุคคลหรือคณะบุคคลในการนี้ผู้แทนจะมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทนหรือตั้งตัวแทนช่วงมิได้บุคคลเดียวกันจะเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนสมาชิกสามัญเกินหนึ่งรายมิได้ผู้ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกสามัญและวิสามัญ ต้องยื่นใบสมัครตามแบบที่กำหนดไว้ต่อเลขาธิการสมาคม และให้เลขาธิการสมาคมเสนอต่อคณะผู้บริหารสมาพันธ์สมาคม เพื่อให้คณะผู้บริหารสมาคมพิจารณามีมติเห็นประการใดแล้วให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้สมัครทราบ
 
ข้อที่ 10 การสิ้นสุดสมาชิกภาพ
 
(1) ถึงแก่กรรม หรือเป็นคนสาบสูญ โดยคำสั่งของศาล หรือเป็นบุคคลล้มละลาย

 
(2) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก 
 
(3) ลาออกโดยได้รับอนุมัติจากคณะผู้บริหารสมาคมเป็นลายลักษณ์ และจะต้องชำระหนี้สินของตนให้สมาพันธ์สมาคมจนครบถ้วน
 
(4) ขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 9
 
(5) ขาดการชำระค่าบำรุงสมาพันธ์สมาคม 2 ปี ติดต่อกัน
 
(6) ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะผู้บริหารสมาพันธ์สมาคม ได้พิจารณาให้ตัดชื่อออกจากทะเบียนเพราะสมาชิกผู้นั้นประพฤติตนไม่เหมาะสม นำความเสื่อมเสียมาสู่สมาชิกสมาคม เมื่อสมาชิกสิ้นสุดลง จะยกเหตุแห่งการนั้นมาเป็นข้ออ้างเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากสมาคม หรือคณะผู้บริหารสมาพันธ์สมาคม ประการใดมิได้
 
ข้อที่ 11 สิทธิของสมาชิก มีดังนี้
 
(1) สมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญมีสิทธิประดับเครื่องหมายสมาคม
  
 
(2) สมาชิกทุกประเภทมีสิทธิได้รับเอกสารจากสมาคม ได้รับการสงเคราะห์และใช้บริการตามที่สมาคม กำหนด
  
 
(3) สมาชิกสามัญมีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคมเพื่อจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบ
  
 
(4) สมาชิกทุกประเภทสามารถติดต่อสอบถาม เสนอแนะให้ข้อคิดเห็นแก่คณะผู้บริหารสมาคมได้
  
 
(5) สมาชิกสามัญมีสิทธิเสนอญัตติเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะผู้บริหารสมาคม ให้นำ เข้าระเบียบวาระเพื่อเข้าที่ประชุมใหญ่ แต่ต้องมีสมาชิกสามัญอื่นลงชื่อรับรองไว้ในญัตติไม่น้อยกว่า 11 คน
  
 
(6) สมาชิกสามัญมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดสามารถทำหนังสือยื่นต่อคณะผู้บริหารสมาคมเพื่อเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ โดยระบุเรื่องให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ เป็นกรณีพิเศษนั้นไว้ในหนังสือที่ยื่นด้วย

 
(7) สมาชิกสามัญมีสิทธิพิเศษในที่ประชุมใหญ่ ดังนี้

 
ก. เข้าร่วมประชุม
  
 
ข. อภิปรายเสนอแนะในที่ประชุมตามระเบียบวาระการประชุม
  
 
ค. เสนอข้อคิดเห็น หรือซักถามข้อสงสัยในข้อความที่ประชุมอยู่ในระเบียบวาระการประชุม
 
ง. เสนอชื่อสมาชิกให้ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะผู้บริหารสมาคม
  
 
จ. มีสิทธิ์ได้รับการเสนอให้ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะผู้บริหารสมาคม
  
 
ฉ. ออกเสียงลงมติ
  
 
ช. รับรองข้อเสนอที่สมาชิกอื่นเสนอ
  
 
ซ. เสนอให้ลงมติ
  
 
ฌ.ขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยสมาชิกอื่น
 
(ง-ซ) เป็นสิทธิของสมาชิกเท่านั้น
 
 
ข้อที่ 12 หน้าที่ของสมาชิก
 
(1) ปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม และระเบียบซึ่งคณะบริหารสมาคมได้กำหนด
  
 
(2) ส่งเสริมร่วมมือในกิจกรรมของสมาคม ให้ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาคมอยู่ด้วยความวัฒนาถาวรสืบไป และต้องรักษาความพร้อมเพรียงในการร่วมประชุม
  
 
(3) ต้องรักษาคุณธรรม ความดีงาม และต้องไม่ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียด้วยประการทั้งปวง

หมวดที่ 3 
การดำเนินกิจการสมาคม

ข้อที่ 13 ให้มีคณะกรรมการบริหารสมาคมทำหน้าที่บริหารงานสมาคม จำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน โดยตำแหน่งนายกสมาคมให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกประเภทสามัญ ส่วนกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ เช่น อุปนายก เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิก ผู้ช่วยเหรัญญิก ประชาสัมพันธ์  วิชาการ ปฏิคม นายทะเบียน และอื่น ๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้แทนสมาชิกประเภทสามัญตามความเหมาะสม
 
ข้อที่ 14 คณะผู้บริหารสมาคมดังกล่าวในข้อ 12 มีวาระการดำรงตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี แต่อาจได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกก็ได้
 
ข้อที่ 15 กรณีที่ตำแหน่งนายกสมาคมว่างลงหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก่อนครบวาระให้อุปนายกรักษาการแทน และให้เลขาธิการสมาคมเรียกประชุมกรรมการสมาคมโดยมิชักช้า เพื่อให้กรรมการสมาคมคัดเลือกนายกสมาคมคนใหม่ โดยให้ดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของนายกสมาคมคนก่อนพร้อมแต่งตั้งคณะผู้บริหารสมาคมชุดใหม่ขึ้นแทนชุดเดิม หรือให้คงคณะกรรมการบริหารชุดเดิมก็ได้ ทั้งนี้ให้เป็นอำนาจของนายกสมาคมฯคนใหม่
 
ข้อที่ 16 อำนาจหน้าที่คณะผู้บริหารสมาคม
 
•ให้คณะผู้บริหารสมาคมประชุมครั้งแรกภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติเลือกตั้งคณะผู้บริหารสมาคมแล้ว 
 
•คณะผู้บริหารสมาคม อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี คณะผู้บริหารสมาคมฯ เมื่อครบวาระ ให้คงทำหน้าที่ในการบริหารงานสมาพันธ์สมาคมฯไปพลางก่อน จนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารสมาคมฯชุดใหม่เข้าทำหน้าที่ และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯชุดเดิมต้องส่งมอบหน้าที่ตามตำแหน่งเป็นลายลักษณ์อักษร
 
•ผู้ขาดจากสมาชิกภาพ ย่อมขาดจากการเป็นผู้บริหารสมาคมด้วย
 
•ให้คณะผู้บริหารดำเนินกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดเป็นนโยบายและแผนการดำเนินงานตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง
 
•นโยบาย แผนงานและงบประมาณประจำปีซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้โดยมติคณะผู้บริหารสมาคมเท่านั้น
 
  (6) พิจารณาอนุมัติการเข้าเป็นสมาชิก
 
  (7) แต่งตั้งที่ปรึกษา หรือคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานสมาคมในเรื่องต่าง ๆ
 
  (8) กำหนดระเบียบ วิธีการซึ่งไม่ขัดแย้งกับข้อบังคับของสมาคม
 
  (9) ตีความหมายในข้อบังคับของสมาคม ในกรณีที่มีปัญหา
 
  (10) แต่งตั้งบรรจุและเลื่อนอัตราเงินเดือนหรือปลดลูกจ้างของสมาคม
 
  (11) มีอำนาจหน้าที่จัดประชุมใหญ่สามัญ และวิสามัญ 
 
ข้อที่ 17 ผู้บริหารสมาคม แต่ละหน้าที่มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้
 
(1) นายกสมาคม
  
 
ก. บริหารกิจการของสมาคม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับของสมาคม
  
 
ข. เป็นประธานในที่ประชุมผู้บริหารและการประชุมใหญ่ ของสมาคม
  
 
ค. เป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคล หน่วยงาน สถาบันทั้งในและนอกประเทศ
  
 
ง. เป็นผู้รักษาระเบียบในการประชุม
 
(2) อุปนายกสมาคม
  
 
ก. ทำหน้าที่หน้าที่ช่วยเหลือนายกสมาคมในการบริหารสมาคม และทำหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคม ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
  
 
ข. ปฏิบัติตามที่นายกสมาคมมอบหมาย
 
(3) เลขาธิการ
  
 
ก. ลงนามในเอกสารเพื่อกำหนดวันประชุม และเอกสารอื่นๆของสมาคม ตามมติคณะผู้บริหารสมาคม หรือตามที่นายกสมาพันธ์สมาคมมอบหมาย
  
 
ข. จัดระเบียบวาระการประชุม บันทึกการประชุม เป็นเลขาธิการและดำเนินการเกี่ยวกับการประชุม
 
ค. ปฏิบัติงานสารบรรณและเก็บรักษาเอกสาร

 
ง. ดำเนินกิจการของสมาคม โดยทั่วไปที่ไม่อยู่ในหน้าที่ของผู้ใด
  
 
จ. ประสานงานกับกรรมการเจ้าหน้าที่และสมาชิก เพื่อให้การบริการสมาคม ดำเนินไปด้วยดี
  
 
ฉ. ปฏิบัติตามที่นายกสมาคมมอบหมาย
 
ช. รักษาการแทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคม และอุปนายกสมาคม ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
 
(4) รองเลขาธิการ
  
 
ก. ทำหน้าที่แทนเลขาธิการเมื่อเลขาธิการไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
  
 
ข. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่เลขาธิการมอบหมาย
 
(5) ประชาสัมพันธ์
   ก. จัดทำหรือเผยแพร่ข่าวสารตลอดจนเผยแพร่กิจกรรมของสมาคม
 
(6) ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
  
 
ก. ปฏิบัติหน้าที่แทนประชาสัมพันธ์เมื่อประชาสัมพันธ์ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 
ข. ปฏิบัติตามที่ประชาสัมพันธ์มอบหมาย
 
(7) ปฏิคม
  
 
ก. ให้การต้อนรับ อำนวยความสะดวกแก่สมาชิกและผู้อื่นที่มาติดต่อกับสมาคม
  
 
ข. อำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกในกิจกรรมสมาคม
 
(8) ผู้ช่วยปฏิคม
  
 
ก. ปฏิบัติหน้าที่แทนปฏิคม เมื่อปฏิคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
  
 
ข. ปฏิบัติตามที่ปฏิคมมอบหมาย
 
(9) เหรัญญิก
  
 
ก. เก็บรักษา เบิก-จ่ายเงินของสมาพันธ์สมาคมตามระเบียบและตามกำหนดไว้ในข้อบังคับ
  
 
ข. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินและการบัญชีของสมาคม
 
ค. สรุปรายรับ-รายจ่าย ประจำเดือน เพื่อชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคม และรายรับ-รายจ่าย ประจำปี เพื่อชี้แจงประชุใหญ่ 
 
(10) ผู้ช่วยเหรัญญิก
  
 
ก. ปฏิบัติหน้าที่แทนเหรัญญิกเมื่อเหรัญญิกไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
  
 
ข. ปฏิบัติตามที่เหรัญญิกมอบหมาย
 
(11) นายทะเบียนและผู้ช่วยนายทะเบียน
  
 
ก. จัดทำและรักษาทะเบียนประวัติของสมาชิกและจัดทำประวัติของสมาคม
 
ข. แก้ไขปรับปรุงทะเบียนของสมาชิกให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
  
 
ค. จัดทำทะเบียนเกี่ยวกับวัสดุ
  
 
ง. ให้ผู้ช่วยนายทะเบียนมีหน้าที่เช่นเดียวกับนายทะเบียนเมื่อนายทะเบียนมอบหมายงาน
 
(12) วิชาการ
  
 
ก. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับด้านวิชาการ และฝึกอบรมให้กับสมาชิก
  
 
ข. จัดทำเอกสารด้านวิชาการ
  
 
ค. จัดทำทะเบียนเกี่ยวกับพัสดุ
  
 
ง. จัดทำกิจกรรมด้านนันทนาการให้แก่สมาชิก
  
 
จ. จัดทำกิจกรรมด้านทัศนคติ และดูงานให้แก่สมาชิก
 
(13) กรรมการสมาคม
  
 
ก. ช่วยเหลือกิจการทั่วไปของสมาคม
 
(14) ที่ปรึกษาสมาคม

 
ก. ให้คำปรึกษาแก่คณะผู้บริหารสมาคม
 
ข้อที่ 18 กรรมการทุกตำแหน่ง เว้นนายกสมาคม ให้จัดทำโครงการแผนงานและระเบียบในการปฏิบัติกิจกรรมของตนแต่ละหน้าที่ เมื่อที่ประชุมคณะผู้บริหารสมาคมอนุมัติแล้วให้ใช้ได้
 
ข้อที่ 19 คณะผู้บริหารสมาคม มีอำนาจร่างระเบียบสำหรับกิจกรรมสมาคมโดยไม่ขัดข้อบังคับนี้
 
ข้อที่ 20 คณะผู้บริหารสมาคม มีสิทธิตั้งสมาชิกเป็นอนุกรรมการให้ปฏิบัติกิจการหรือดำเนินการ ใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมได้ตามเห็นสมควร

หมวดที่ 4 
การประชุมคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์สมาคม

ข้อที่ 21 ให้มีการประชุมคณะผู้บริหารสมาคม เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมตามปกติปีละไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง โดยให้นายกสมาคม และอุปนายกสมาคมเป็นผู้กำหนด และให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งให้คณะผู้บริหารสมาคมทราบ วัน เวลา และสถานที่ พร้อมทั้งระเบียบวาระการประชุมและแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
 
ข้อที่ 22 การประชุมของคณะผู้บริหารสมาคม ต้องมีกรรมการร่วมประชุมเกินครึ่งของคณะผู้บริหารทั้งหมดจึงถือว่าเป็นองค์ประชุม ถ้านายกสมาคม และอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งจากคณะผู้บริหารสมาคม ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
 
ข้อที่ 23 กรรมการมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนที่ประชุมได้คนละ 1 เสียง ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงได้ 1 เสียง เป็นเสียงชี้ขาด

หมวดที่ 5 
การประชุมใหญ่

ข้อที่ 24 ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษากิจการของสมาคม ดังนี้

(1) รายงานของคณะผู้บริหารสมาคม เกี่ยวกับกิจการในปีที่ผ่านมา

(2) งบดุลประจำปี

(3) เลือกตั้งคณะกรรมการผู้บริหารสมาคม เมื่อถึงกำหนดตามวาระ

(4) เลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี

(5) ปรึกษากิจการของสมาคม

(6) กิจการอื่นๆ

ข้อที่ 25 การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ให้เลขาธิการสมาคม แจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ ที่ประชุมพร้อมทั้งส่งเอกสารเกี่ยวกับการประชุมตามที่คณะผู้บริหารสมาคม มีมติ

(1) นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้ว คณะผู้บริหารสมาคม อาจจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญได้โดย
 ก. มติคณะผู้บริหารสมาคม ให้เรียกการประชุมใหญ่วิสามัญ
   ข. สมาชิกร้องขอตามข้อบังคับ ข้อ10 (6)

(2) การประชุมใหญ่สามัญนั้นจะต้องมีขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรรมการได้มีมติเด็ดขาดหรือนับแต่วันที่ได้รับเรื่องขอให้การประชุมใหญ่วิสามัญจากสมาชิก

(3) เลขาธิการดำเนินการนัดประชุมตามระเบียบและวิธีการดังกล่าวข้างต้น

ข้อที่ 26 ในที่ประชุมใหญ่สามัญ หรือวิสามัญทุกครั้งจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด การลงมติให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าการลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน ชี้ขาด

(1) ถ้าการประชุมครั้งแรกสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ให้เลขาธิการสมาคม เลื่อนการประชุมออกไปไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันไม่ครบองค์ประชุมครั้งแรก ในการประชุมครั้งที่ 2 ไม่ว่าสมาชิกจะมาประชุมจำนวนเท่าใดก็ถือว่าครบองค์ประชุม

หมวดที่ 6 
การเงินของสมาคม

ข้อที่ 27 สมาคมมีรายได้จาก
   (1) เงินค่าบำรุงจากสมาชิก
 (2) เงินที่ได้จากการบริจาค
 (3) เงินอุดหนุน
 (4) เงินรายได้อื่นๆ

ข้อที่ 28 ให้เหรัญญิกของสมาคม เป็นผู้รับผิดชอบการเงินของสมาคม ตามกฎหมายและให้ทำรายงานตลอดจนผลงานเสนอคณะผู้บริหารสมาคม เป็นระยะตามความเหมาะสม

ข้อที่ 29 เงินของสมาคม ให้ฝากไว้ ณ ธนาคารอันเป็นหลักฐาน และให้เหรัญญิก สามารถถือเงินสดเพื่อความสะดวกแก่การจ่ายในกิจการประจำตามปกติได้ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) การถอนเงินหรือการสั่งจ่ายเงินจากธนาคารต้องมีลายมือชื่อผู้เปิดบัญชี นายกสมาคม และเลขาธิการ หรือเหรัญญิกลงลายมือชื่อร่วมกัน

ข้อที่ 30 นากยกสมาคม มีอำนาจสั่งจ่ายเงินนอกจากรายจ่ายประจำ ในกิจการของสมาคมตามวัตถุประสงค์ได้คราวละไม่เกินห้าหมื่นบาท หากเกินจำนวนดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะผู้บริหารสมาคมก่อน

ข้อที่ 31 ให้คณะผู้บริหารสมาคม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของสมาคมอำนวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจ สอบบัญชีในการที่จะตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับการเงิน และเงินสดเพื่อประโยชน์แก่การตรวจ สอบ นั้นด้วย รายงานการตรวจสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบบัญชีนี้ ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองเพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่ในปีต่อไปด้วย

หมวดที่ 7 
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

ข้อที่ 32 การแก้ไขข้อบังคับของสมาคม จะทำได้โดยมติที่ประชุมใหญ่ของสมาคม และต้องได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมประชุม

ข้อที่ 33 การเสนอแก้ไขข้อบังคับของสมาคม ทำได้ คือ


(1) สมาชิกเป็นผู้เสนอโดยมีสมาชิกยื่นลงนามรับรอง ไม่น้อยกว่า 30 คน โดยยื่นต่อเลขาธิการล่วงหน้าก่อนการประชุมใหญ่ ไม่น้อยกว่า 45 วัน ให้เลขาธิการส่งสำเนาข้อเสนอนั้นให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนการประชุมใหญ่
  

(2) คณะผู้บริหารสมาคม เป็นผู้เสนอ โดยแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30วัน ก่อนการประชุมใหญ่

ข้อที่ 34 การเลิกสมาคม จะเลิกได้โดยมติที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติที่ประชุมใหญ่ให้เลิกสมาคม จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด

ข้อที่ 35 ให้ที่ประชุมของคณะผู้บริหารสมาคม เป็นผู้ลงมติเลือกตั้งผู้ชำระบัญชี

ข้อที่ 36 ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลือจากการชำระบัญชีมีอยู่เท่าใด ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่

หมวดที่ 7 
บทเฉพาะกาล

ข้อที่ 37 ในวาระแรกของการก่อตั้งสมาคม ให้คณะกรรมการบริหารสมาคมชุดก่อตั้ง ซึ่งบริหารสมาคมอยู่ มีวาระการดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา 1 ปี นับแต่ข้อบังคับสมาคมโดยนายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จสิ้น และให้ดำเนินการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารตามข้อ 12 ก่อนครบวาระสมาคมสมาพันธ์นักข่าว