พระครูมธุรสธรรมภาณ เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส (วัดไร่กล้วย) พร้อมคณะศิษยานุศิษย์พระครูสุทธิคุณรังษี (หลวงพ่อทอง ปญฺญาทีโป) หรือที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อทอง” อดีตเจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส (วัดไร่กล้วย) ได้เตรียมจัดงานวันมรณกาลครบ 9 ปี สิริอายุรวม 103 ปี โดยกำหนดการมีดังนี้ ในวันที่22 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00น. อัญเชิญสังขารหลวงปู่ทองจากโลงแก้ว ลงมาให้ลูกศิษย์ปิดทองสรีระสังขาร และในวันที่ 25 สิงหาคม 2567เวลา10.00น.ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายหลวงปู่ทอง ที่บนศาลาที่ตั้งสรีระสังขารของหลวงปู่ทอง
สำหรับพระครูสุทธิคุณรังษี “หลวงปู่ทอง ปญญาทีโป” เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ปีจอ บิดาชื่อ นายสี ก้านบัว มารดาชื่อ นางไผ่ ก้านบัว ท่านเป็นชาวอำเภอพนัสนิคม ต.หนองปรือ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 7 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 4 ในช่วงชีวิตที่ท่านครองเพศฆราวาสนั้นได้ช่วยบิดามารดาประกอบสัมมาอาชีวะตามประสาสุจริตชนทั่วไป สำหรับพระครูสุทธิคุณรังษี “หลวงปู่ทอง ปญญาทีโป” เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ปีจอ บิดาชื่อ นายสี ก้านบัว มารดาชื่อ นางไผ่ ก้านบัว ท่านเป็นชาวอำเภอพนัสนิคม ต.หนองปรือ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 7 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 4 ในช่วงชีวิตที่ท่านครองเพศฆราวาสนั้นได้ช่วยบิดามารดาประกอบสัมมาอาชีวะตามประสาสุจริตชนทั่วไป จากนั้นจึงได้เข้าสมัครรับราชการทหารเป็นเวลากว่า 2 ปี ภายหลังที่ท่านใช้ชีวิตเยี่ยงฆราวาสมาอย่างโชกโชนแล้ว หลวงปู่ท่านจึงคิดจะบวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม และตอบแทนพระคุณบุพการี ท่านจึงตัดสินใจเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2489 ณ พัธสีมา วัดเนินสังข์สกฤษฏาราม ต.วัดหลวง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระครูเจียม วัดหลวงพรหมาวาส พระกรรมวาจาจารย์ คือพระมหาเที่ยง วัดกลางทุมมาวาส พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเอียง วัดไร่หลักทอง ได้รับฉายาว่า “ปัญญาทีโป” แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจแสงสว่างแห่งดวงประทีป
ย้อนไปเล็กน้อย ในการสร้างวัดไร่กล้วยนั้นครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2488 ก่อนหลวงปู่ทองบรรพชา 1 พรรษาชาวบ้านได้นิมนต์อาจารย์มานิตย์ (พระพี่ชายของหลวงปู่ทอง) มาเป็นเจ้าอาวาส เพื่อมาร่วมสร้างวัดในหมู่บ้านไร่กล้วยด้วยกัน และในปีต่อมาหลวงปู่ทอง ปญญาทีโป ท่านจึงได้อุปสมบทที่อำเภอพนัสนิคม และหลังจากนั้นได้ติดตามพระพี่ชายมาช่วยสร้างวัดไร่กล้วย โดยร่วมกับชาวบ้านอีกแรงหนึ่ง จนในปี พ.ศ.2491 จึงได้สร้างโบสถ์ไม้สำเร็จเป็นหลังแรก จวบจน พ.ศ.2494 ท่านอาจารย์นิด ได้ลาสิกขาบทไป คงเหลือไว้แต่หลวงปู่ทอง จึงเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส ด้วยหลวงปู่ทองเป็นพระที่มีความเมตตาต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก จนเป็นที่เลื่องลือ เลื่อมใส จึงเกิดศรัทธาจากชาวบ้านในบริเวณนั้น และยังแผ่บารมี คุณธรรม ออกไปยังบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะตกทุกข์ได้ยาก ลำบากแค่ไหนเดินทางมาหาหลวงปู่ทอง ท่านก็จะมีเมตตาต่อผู้มาพบท่านอยู่เสมอมิได้ขาด ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ท่านก็ให้การช่วยเหลือมาตลอด จนในปี พ.ศ.2496 หลวงปู่ทองจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส สร้างความปิติให้กับลูกศิษย์และชาวบ้านโดยทั่วไป
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2498 หลวงปู่ทองได้สร้างโรงเรียนวัดไร่กล้วย ให้กับชาวบ้านใช้ในการศึกษาเล่าเรียนของบุตรหลาน หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2501 ชาวบ้านก็ได้ช่วยหลวงปู่ทองสร้างศาลาการเปรียญไม้จนสำเร็จ ในปี พ.ศ.2504 ในปี พ.ศ.2516 หลวงปู่ทอง ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นตรี ราชทินนามที่ พระครูสุทธิคุณรังษี ในปี พ.ศ.2522ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นโท ในปี พ.ศ.2530ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นเอก ในปี พ.ศ.2555 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก หลังจากนั้น หลวงปู่ทอง ก็เริ่มมีอาการอาพาธเป็นโรคปอดติดเชื้อ ต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ จวบจนวันที่ 22 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 เวลาประมาณ 11.10 น. หลวงปู่ทอง ปัญญษทีโป ได้ถึงแก่มรณภาพท ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ด้วยอาการปอดติดเชื้อ สิริอายุ 94 ปี 68 พรรษา
การมรณภาพของหลวงปู่นำมาซี่งความโศกเศร้าเสียใจแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างมากแต่ด้วยสัจธรรมที่เป็นไปตามหลักไตรลักษ์3 คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปย่อมเป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกคนไม่เว้นแม้แต่พระอริยะสงฆ์หรือพระโพธิสัตว์ที่จุติมาบำเพ็ญบารมี คงเหลือไว้คุณงามความดีที่ท่านฝากไว้ให้กับวัดไร่กล้วย และชาวศรีราชาสืบต่อไป