ชวนอ่าน ’10 ข่าวรอบโลก’ แห่งปี 2023 จากสำนักข่าวซินหัว

26

* นักการเมืองตะวันตกบางส่วนนำเสนอแนวคิด “ลดความเสี่ยง” ขยับขยายตรรกะ “แยกตัว” และหลักการ “ลานเล็ก รั้วสูง” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดกับกฎหมายทางเศรษฐกิจและสวนกระแสการพัฒนาแห่งประวัติศาสตร์ รวมถึงปฏิเสธโอกาส ความร่วมมือ เสถียรภาพ และการพัฒนาอย่างยิ่ง

* ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ส่งผลให้มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตมากกว่า 20,000 ราย นำสู่การเกิดวิกฤตทางมนุษยธรรมครั้งร้ายแรง ขณะเดียวกันมีชาวอิสราเอลเสียชีวิตมากกว่า 1,000 ราย

* ความสำเร็จของการจัดประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (BRF) ครั้งที่ 3 ถือเป็นหมุดหมายอันมีนัยสำคัญ โดยสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ พิธีเปิดและประกาศ 8 ขั้นตอนสำคัญเพื่อสนับสนุนความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่มีคุณภาพสูง

ปักกิ่ง, 31 ธ.ค. (ซินหัว) — สำนักข่าวซินหัวประมวล “10 ข่าวรอบโลก” แห่งปี 2023 (เรียงตามลำดับเวลา)

1. “ปัญญาประดิษฐ์นักสร้าง” เร่งรัดการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรม

จำนวนผู้ใช้งาน “แชทจีพีที” (ChatGPT) ซึ่งเป็นแชทบอทหรือโปรแกรมโต้ตอบการสนทนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สูงแตะ 100 ล้านรายในเดือนมกราคม โดย “ปัญญาประดิษฐ์นักสร้าง” หรือเจเนเรทีฟ เอไอ (Generative AI) อย่างแชทจีพีทีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเครื่องมือที่เข้ามาปฏิวัติวงการนี้มีความเก่งกาจในการทำงานอย่างการสร้างสรรค์เนื้อหา

บรรดายักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยีจากหลายประเทศกำลังแข่งขันกันทุ่มลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และเร่งการบูรณาการผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้ากับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ โดยปัญญาประดิษฐ์ในฐานะพลังขับเคลื่อนสำคัญของการปฏิวัติทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมรอบใหม่นั้นนำมาซึ่งโอกาสมากมายและจะเร่งการปรับโฉมของหลายอุตสาหกรรม ทว่าขณะเดียวกันนำมาซึ่งความเสี่ยงและความท้าทายที่มิสามารถคาดการณ์ได้

ทั้งนี้ จีนได้ผลักดัน “แผนริเริ่มการกำกับควบคุมปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก” (Global AI Governance Initiative) เพื่อนำเสนอแนวทางของจีนในการกำกับควบคุมปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก

2. แผ่นดินไหวครั้งหายนะในตุรกีและซีเรียสร้างความสูญเสียสุดเลวร้าย

ภูมิภาคตอนใต้ของตุรกี (ทูร์เคีย) ใกล้กับพรมแดนซีเรียเผชิญเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 7.7 ตามมาตราแมกนิจูด เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ตามด้วยเหตุอาฟเตอร์ช็อกหรือแผ่นดินไหวตามอย่างต่อเนื่อง

ภัยพิบัติดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในตุรกีมากกว่า 50,000 ราย และในซีเรียมากกว่า 1,000 ราย ขณะเดียวกันโมร็อกโก อัฟกานิสถาน เนปาล และประเทศอื่นๆ ได้เผชิญเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในปีนี้เช่นกัน ซึ่งสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก

ทั้งนี้ จีนได้จัดส่งทีมกู้ภัยไปยังตุรกีทันทีหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวเพื่อพยายามช่วยชีวิตผู้คนอย่างสุดกำลังความสามารถ พร้อมจัดสรรความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมฉุกเฉินหลายรอบแก่กลุ่มประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์แนวคิดการสร้างประชาคมมนุษยชาติที่มีอนาคตร่วมกัน

3. ข้อตกลงซาอุดีอาระเบีย-อิหร่าน ภายใต้การไกล่เกลี่ยโดยจีน กระตุ้นความปรองดองในตะวันออกกลาง

ซาอุดีอาระเบียและอิหร่านได้บรรลุข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ ณ กรุงปักกิ่ง ภายใต้การไกล่เกลี่ยของจีน เมื่อวันที่ 10 มี.ค. เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตที่ตัดขาดกันมานานถึง 7 ปี โดยทั้งสองประเทศได้ฟื้นคืนสายสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน

ทั้งสองประเทศได้จับมือกันสร้างสันติภาพ ซึ่งกระตุ้นความปรองดองในหมู่ประเทศตะวันออกกลาง โดยหลายเดือนต่อมา ซีเรียกลับเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ ขณะอียิปต์และตุรกีได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระดับเอกอัครราชทูต นอกจากนั้นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน และประเทศอื่นๆ ได้ดำเนินการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกาตาร์ให้กลับสู่สภาวะปกติด้วย

ทิศทางการผ่อนปรนความตึงเครียด ตลอดจนการแสวงหาการพัฒนาและความร่วมมือในหมู่ประเทศตะวันออกกลาง บ่งชี้ว่าการแก้ไขข้อพิพาทและความแตกต่างผ่านการเจรจาหารือนั้นสอดคล้องกับความปรารถนาของประชาชน กระแสธารแห่งยุคสมัย และผลประโยชน์ของทุกชนชาติ

4. แนวคิด “ลดความเสี่ยง” ทวีความรุนแรงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก

ช่วงเดือนมีนาคม นักการเมืองตะวันตกบางส่วนนำเสนอแนวคิด “ลดความเสี่ยง” ขยับขยายตรรกะ “แยกตัว” และหลักการ “ลานเล็ก รั้วสูง” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดกับกฎหมายทางเศรษฐกิจและสวนกระแสการพัฒนาแห่งประวัติศาสตร์ รวมถึงปฏิเสธโอกาส ความร่วมมือ เสถียรภาพ และการพัฒนาอย่างยิ่ง

ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกผจญกับสารพัดความท้าทายที่ขัดขวางกระบวนการฟื้นตัว โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบก้าวกระโดดต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เพิ่มความเสี่ยงในภาคการธนาคารของอเมริกาและยุโรปอย่างมาก นำสู่การบั่นทอนสภาพคล่องทั่วโลกและเพิ่มความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

สหรัฐฯ ได้เดินหน้านโยบายทางอุตสาหกรรมเชิงกีดกันทางการค้า เช่น กฎหมายลดเงินเฟ้อ และกฎหมายชิปและวิทยาศาสตร์ ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วแห่งอื่นๆ ทำตาม ซึ่งลดทอนเสถียรภาพของห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ โดยการใช้เศรษฐกิจและการค้ามาสร้างประเด็นทางการเมืองและเป็นอาวุธของสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกบางส่วนกำลังสร้างความเสียหายแก่ตลาดโลก และฉุดรั้งเศรษฐกิจโลกให้ตกต่ำยิ่งขึ้น

5. การสนับสนุนลัทธิพหุภาคีของ “โลกใต้”

วันที่ 24 ส.ค. กลไกความร่วมมือกลุ่มประเทศบริกส์ (BRICS) ได้ต้อนรับหลายประเทศ ทั้งซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน และเอธิโอเปีย เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ และวันที่ 9 ก.ย. สหภาพแอฟริกาได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม G20 อย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันความเข้มแข็งของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการผงาดขึ้นมาแบบหมู่คณะของโลกใต้ (Global South) กลายเป็นทิศทางอันมิอาจสวนคืน โดยการพัฒนาอันเป็นเอกภาพ สอดประสาน และร่วมด้วยช่วยกัน คือความปรารถนาอันแรงกล้า

ทั้งนี้ จีนในฐานะประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ที่สุดถือเป็นสมาชิกโลกใต้ด้วยเช่นกัน พร้อมคุ้มครองผลประโยชน์ร่วมของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอย่างแน่วแน่ รวมถึงส่งเสริมการเป็นตัวแทนและกระแสเสียงของกลุ่มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในกิจการโลกเพิ่มขึ้น

6. ญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์ท่ามกลางกระแสคัดค้าน

วันที่ 24 ส.ค. ญี่ปุ่นเริ่มต้นปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แม้มีการตั้งคำถามเป็นวงกว้างจากนานาชาติและการคัดค้านอย่างหนักจากหลายประเทศที่เกี่ยวข้อง

ญี่ปุ่นได้ปล่อยน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์ในปีนี้ จำนวน 3 รอบ ปริมาณรวมมากกว่า 23,000 ตัน โดยการปล่อยน้ำปนเปื้อนทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 30 ปี ซึ่งการปล่อยน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์ลงสู่มหาสมุทรที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนนี้ กอปรกับผลกระทบทางทะเลที่อาจเกิดขึ้น ได้จุดกระแสวิตกกังวลเป็นวงกว้างทั่วโลก

การปล่อยน้ำปนเปื้อนนี้มิใช่เรื่องส่วนตัวของญี่ปุ่น แต่เกี่ยวพันกับสุขอนามัยส่วนรวมของมวลมนุษยชาติ ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางทะเลและประโยชน์สาธารณะทั่วโลก โดยญี่ปุ่นควรจัดการกับข้อวิตกกังวลอันชอบธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างจริงจัง พร้อมกับจัดการประเด็นน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้าฯ อย่างมีความรับผิดชอบและสร้างสรรค์

7. ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ตอกย้ำความสับสนอลหม่านทวีความรุนแรงทั่วโลก

ความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ปะทุขึ้นมาในวันที่ 7 ต.ค. ซึ่งส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตมากกว่า 20,000 ราย นำสู่การเกิดวิกฤตทางมนุษยธรรมครั้งร้ายแรง ขณะเดียวกันมีชาวอิสราเอลเสียชีวิตมากกว่า 1,000 ราย ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา

นานาชาติยังคงเรียกร้องการปกป้องพลเรือนและยุติการสู้รบ โดยแนวทางพื้นฐานของการแก้ไขความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ปะทุขึ้นมาบ่อยครั้งนั้นอยู่ที่การดำเนินการตามแนวทางสองรัฐ การฟื้นฟูสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนชาวปาเลสไตน์ และการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์อิสระ

นับตั้งแต่เริ่มต้นปีนี้ วิกฤตยูเครนถูกเตะถ่วงให้ยืดเยื้อ ความขัดแย้งทางอาวุธเกิดขึ้นในซูดาน และมีการรัฐประหารในไนเจอร์และกาบอง โดยความขัดแย้งระดับท้องถิ่นและสมรภูมิร้อนระดับภูมิภาคยังคงปะทุคุกรุ่น และสถานการณ์ระหว่างประเทศกำลังมีความผันผวนเพิ่มขึ้น

8. ความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่มีคุณภาพสูงเปิดบทใหม่

ความสำเร็จของการจัดประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (BRF) ครั้งที่ 3 ในวันที่ 18 ต.ค. ถือเป็นหมุดหมายอันมีนัยสำคัญ โดยสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ พิธีเปิดและประกาศ 8 ขั้นตอนสำคัญเพื่อสนับสนุนความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่มีคุณภาพสูง

การประกาศดังกล่าวได้กำหนดทิศทางใหม่ เปิดกว้างวิสัยทัศน์ใหม่ และอัดฉีดแรงกระตุ้นใหม่สู่ความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ขณะช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นานาประเทศมากกว่า 150 แห่ง และองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 30 แห่ง ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง

โครงการต่างๆ จำนวนมากได้ลงหลักปักฐาน กรุยวิถีทางสู่การพัฒนาร่วมกัน ความร่วมมือ โอกาส และความเจริญรุ่งเรือง โดยแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สาธารณะระหว่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและเวทีเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

9. การทูตสีจิ้นผิง (Xiplomacy) เขียนบทใหม่ของการทูตจีน

วันที่ 15 พ.ย. สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้พบปะกับโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในนครซานฟรานซิสโก ซึ่งมีการกำหนดวิสัยทัศน์ซานฟรานซิสโกอันมุ่งมั่นสู่ความก้าวหน้า

ปีนี้ สีจิ้นผิงได้เดินทางเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ เป็นประธานการประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลาง ครั้งที่ 1 เข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศบริกส์ในแอฟริกาใต้ และเยือนแอฟริกาใต้อย่างเป็นทางการ เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในนครซานฟรานซิสโก เดินทางเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการ หารือและส่งสารและจดหมายถึงเหล่าผู้นำประเทศและองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง รวมถึงเขียนจดหมายและตอบจดหมายของเยาวชนและประชาชนจากหลายมิตรประเทศ

การทูตประเทศขนาดใหญ่อันมีลักษณะพิเศษของจีนภายใต้การชี้นำของแนวคิดสีจิ้นผิงว่าด้วยการทูต (Xi Jinping Thought on Diplomacy) ยังคงดำเนินต่อไปบนการเดินทางครั้งใหม่ พร้อมส่งเสริมแผนริเริ่มการพัฒนาระดับโลก (GDI) แผนริเริ่มความมั่นคงระดับโลก (GSI) และแผนริเริ่มอารยธรรมระดับโลก (GCI) อย่างมีนัยสำคัญ โดยความพยายามนี้ได้อัดฉีดแรงกระตุ้นสู่การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ

10. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีภัยคุกคามการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

วันที่ 30 พ.ย. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ประกาศว่าปี 2023 เป็นปีที่มีสภาพอากาศร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทวีความรุนแรงของภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วมในลิเบีย และไฟป่าครั้งเลวร้ายที่สุดในฮาวาย โดยสภาพอากาศสุดขั้วอย่างคลื่นความร้อนช่วงฤดูร้อนกลายเป็นความปกติใหม่ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของโลก รวมถึงฉุดรั้งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเกือบทั้งหมด

“ยุคโลกร้อนได้สิ้นสุดลง พร้อมกับการมาถึงของยุคโลกเดือด” อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าว

การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติในนครดูไบได้บรรลุฉันทามติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในหลายประเด็น อาทิ การประเมินผลข้อตกลงปารีสในระดับโลกครั้งแรก การสูญเสียและความเสียหาย และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งส่งสัญญาณชัดแจ้งว่าทุกฝ่ายควรเร่งการลงมือปฏิบัติร่วมกัน

Cr : https://www.xinhuathai.com/high/407976_20231231

- Advertisement -