ราชกิจจานุเบกษาประกาศข้อกําหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีแพ่ง
เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศเผยแพร่ ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องพ.ศ. ๒๕๖๓
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๐ ตรี วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๒๐ ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกาออกข้อกําหนดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อกําหนดนี้เรียกว่า “ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ก่อนฟ้อง พ.ศ. ๒๕๖๓”
ข้อ ๒ ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อกําหนดนี้ “คําร้อง” หมายความว่า คําร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยประจําศาล
ข้อ ๔ การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามมาตรา ๒๐ ตรี แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งให้เป็นไปตามข้อกําหนดนี้ กรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในข้อกําหนดนี้โดยเฉพาะ ให้นําข้อกําหนด ของประธานศาลฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา ๒๐ ทวิ มาใช้บังคับแก่การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๕ การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามข้อกําหนดนี้ ให้ใช้ได้กับข้อพิพาททางแพ่งทุกลักษณะ เว้นแต่เป็นกรณีต้องห้ามตามข้อ ๙
ข้อ ๖ การยื่นคําร้อง ให้ทําเป็นหนังสือโดยระบุชื่อและภูมิลําเนาของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายละเอียดของข้อพิพาท หรือใช้แบบพิมพ์ตามที่สํานักงานศาลยุติธรรมประกาศกําหนด
ข้อ 8 การยื่นคําร้องอาจดําเนินการได้โดยทางไปรษณีย์ ผู้รับส่งพัสดุภัณฑ์ โทรสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นตามที่สํานักงานศาลยุติธรรมประกาศกําหนด
ในกรณีที่ยื่นคําร้องต่อศาลที่ไม่มีเขตอํานาจให้เจ้าหน้าที่แนะนําผู้ร้องตามสมควรแก่กรณี เพื่อให้สามารถยื่นต่อศาลที่มีเขตอํานาจได้
ข้อ 9 ให้เจ้าหน้าที่สอบถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากผู้ร้องเพื่อประกอบการพิจารณา ของศาลว่ามีเหตุผลสมควรที่จะรับคําร้องไว้ไกล่เกลี่ยหรือไม่ ในกรณีมีข้อสงสัยศาลอาจสั่งให้ผู้ร้อง ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็ได้
เอกสารหรือหลักฐานที่ได้ยื่นในชั้นนี้ให้รวบรวมไว้เพื่อใช้ในการไกล่เกลี่ยต่อไป ข้อ ๔ กรณีดังต่อไปนี้ มิให้รับคําร้องไว้ไกล่เกลี่ย
(๑) เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าการยื่นคําร้องเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนาเอาเปรียบคู่กรณี หรือบุคคลอื่น
(๒) เมื่อปรากฏว่ามีการนําข้อพิพาทตามคําร้องไปยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลใดศาลหนึ่งไว้แล้ว โดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ความในคดีนั้น
(๓) เมื่อปรากฏว่าข้อพิพาทตามคําร้องเคยได้รับการดําเนินการไกล่เกลี่ยตามข้อกําหนดนี้แล้ว แต่ไม่เป็นผล เว้นแต่พฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยระบุพฤติการณ์เช่นว่านั้นมาในคําร้อง
(๔) เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์หรือลักษณะของข้อพิพาทแล้วไม่เป็นสาระที่จะดําเนินการไกล่เกลี่ย
ข้อ ๑๐ ภายหลังที่ศาลมีคําสั่งรับคําร้องแล้ว หากความปรากฏว่าคําร้องนั้นต้องห้าม ตามข้อ ๔ หรือคู่กรณีฝ่ายใดนําข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ยไปฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิด ทางแพ่งก็ให้ศาลสั่งให้ยุติการไกล่เกลี่ยได้
ข้อ ๑๑ การสอบถามความสมัครใจของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย หรือการติดต่อประสานงานระหว่างศาลกับคู่กรณีอาจดําเนินการโดยทางโทรศัพท์ หรือโดยวิธีการ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ ๗ ก็ได้
ข้อ ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลอาจสั่งให้คู่กรณีให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพิ่มเติม ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
ข้อ ๑๓ เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามข้อกําหนดนี้ไปในทาง ที่มิชอบ ในการทําข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือ คู่กรณีต้องลงลายมือชื่อ ด้วยตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีมีเหตุจําเป็นและได้รับอนุญาตจากศาล
ข้อ ๑๔ การขอให้ศาลมีคําพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องยื่นคําขออย่างช้าในวันที่ทําข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยแสดงถึงเหตุผลความจําเป็นในการร้องขอ
ถ้าศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความจําเป็นที่สมควรจะมีคําพิพากษาไปทันทีในเวลานั้น ก็ให้ศาล มีคําพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความต่อไปได้ แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีความจําเป็น ที่สมควรจะมีคําพิพากษาในเวลานั้น ก็ให้สั่งยกคําขอ
ข้อ ๑๕ กรณีมีความจําเป็นที่สมควรจะมีคําพิพากษาตามข้อ ๑๔ วรรคสอง ให้รวมถึง
(๑) ตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความกําหนดให้คู่กรณีกระทํานิติกรรม อย่างหนึ่งอย่างใด หรือต้องดําเนินการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหากไม่มี คําพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วอาจเกิดข้อขัดข้อง
(๒) พฤติการณ์หรือลักษณะของข้อพิพาทอาจเกิดข้อพิพาทขึ้นอีกหรือความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น
(๓) กรณีมีภาวะความจําเป็นทางเศรษฐกิจ ระบบการเงิน การลงทุน หรือการบริหารจัดการ ในภาครัฐ
(๔) กรณีมีความจําเป็นอื่นใดที่ต้องมีคําพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่คู่สัญญาทุกฝ่าย
ข้อ ๑๖ กรณีใดที่ศาลมีคําพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้ถือสํานวนไกล่เกลี่ยเป็นสํานวนความ และให้ศาลจดแจ้งรายงานกระบวนพิจารณารวมไว้ในสํานวนให้จัดทําสารบบความและสารบบคําพิพากษาสําหรับคดีตามวรรคหนึ่งเช่นเดียวกับคดีที่มี การยื่นฟ้องโดยแยกจากคดีทั่วไปและให้เรียกผู้ยื่นคําร้องเป็นโจทก์ คู่กรณีอีกฝ่ายเป็นจําเลย
ข้อ ๑๗ ในกรณีจําเป็นต้องมีวิธีการใดในทางธุรการเพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้ เป็นไปโดยเรียบร้อย ให้เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้กําหนดวิธีการนั้น
ข้อ ๑๘ ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามข้อกําหนดนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓
เมทินี ชโลธร
ประธานศาลฎีกา
Credit : https://www.thansettakij.com/content/politics/456018