ทำไม? “คนจีนรุ่นใหม่” ไม่ต่อต้านรัฐบาล

198

ปรากฎการณ์นักศึกษา เยาวชน คนรุ่นใหม่ของไทยออกมาชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีนได้ตอบคำถามเชิงเปรียบเทียบ ทำไมคนจีนรุ่นใหม่ไม่ต่อต้านรัฐบาล ผ่านเฟซบุ๊ก

#ถามมาตอบไป มีคำถามที่น่าสนใจจากกัลยาณมิตรท่านหนึ่งที่คิดว่าหลายท่านก็อาจจะสนใจฟังคำตอบ จึงขอนำมาแบ่งปันกันนะคะ

#คำถาม ทำไมนักศึกษาจีนยุคนี้ ถึงไม่ต่อต้านรัฐบาล

#คำตอบ บริบทจีนมีความแตกต่างกับหลายประเทศค่ะ และในการตอบคำถามนี้ ขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า อาจจะพอมีนักศึกษาจีนที่รู้สึกต่อต้านรัฐบาลจีนอยู่บ้าง ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาของยุคสมัยนี้ที่จะมีคนที่มีเห็นต่างกันได้นะคะ แต่ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ในจีน

ในการวิเคราะห์ # “ทำไมคนจีนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่ต่อต้านรัฐบาลจีน” มีอย่างน้อย 3 ปัจจัยหลักที่สำคัญ ดังนี้

1. #จีนไม่มีวิกฤติศรัทธาในตัวผู้นำ ด้วยภาวะผู้นำของจีนที่วางตัวได้นิ่ง ลุ่มลึก น่าเกรงขาม ไม่พูดมากแต่เน้นแก้ปัญหาระดับรากให้กับประชาชน และมีผลงานจับต้องได้ตามที่ประชาชน คาดหวังอย่างเด่นชัดเป็นรูปธรรม เช่น การปราบคอรัปชั่นอย่างจริงจัง การขจัดความยากจน การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุดคือ การทำให้คนจีนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น/คนจีนไม่ตกงาน เลี่ยงการสร้างปมใด ๆ /ไม่สร้างปมใหม่ ๆ ที่จะสร้างวิกฤติศรัทธา

((แน่นอนว่า จีนไม่มีภาพปัญหาของ #นักการเมืองห่วย ๆ เห็นแต่ประโยชน์พวกพ้องให้ประชาชนต้องสิ้นศรัทธาต่อระบบที่เป็นอยู่ด้วยค่ะ))

นอกจากนี้ ประสบการณ์จากการประท้วงของคนจีน #เหตุการณ์เทียนอันเหมิน เป็นบทเรียนที่แสนเจ็บปวดแต่มีคุณค่า lesson learned เพราะช่วงนั้น 1989 (พ.ศ.2532)เศรษฐกิจจีนมีเงินเฟ้อ 28% มีคอรัปชั่น มีความเหลื่อมล้ำ สมาชิกพรรค/เจ้าหน้าที่รัฐเป็นอภิสิทธิ์ชน มี หลายปมที่สร้างความขัดแย้งจนทำให้คนจีนต้องลงถนน มาประท้วงครั้งใหญ่ค่ะ

บทเรียนนี้ ทำให้ยุคสีจิ้นผิงต้อง #เน้นปราบคอรัปชั่น อย่างเฉียบขาด และ #ทำสงครามกับความยากจน อย่างจริงจังด้วยค่ะ

2. #บทบาทของสื่อจีน มีส่วนสำคัญมาก !!! สื่อจีนช่วยให้ประชาชนมีความมั่นใจในการแก้ปัญหาของรัฐ #ช่วยสร้างพลังบวกในการขับเคลื่อนประเทศ เช่น สื่อจีนนำ New Media มาช่วยนำเสนอภาพความสำเร็จของผลงานรัฐที่เป็นรูปธรรม (ผลงานที่สำเร็จจริงจับต้องได้ไม่ใช่สร้างภาพ) ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก จึงช่วยสร้างความภูมิใจในชาติของคนจีนได้อีกทางหนึ่งด้วย

เช่น ช่วงระบาดของโควิด-19 สื่อจีนเน้นนำเสนอภาพของความร่วมมือร่วมใจกันของคนในชาติในการเอาชนะไวรัสร้าย การเสียสละของบุคคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่ภาพของการชี้นิ้วโทษกันและกัน

สื่อจีนเน้นขับเคลื่อนสังคมด้วยข้อมูล data-driven society ไม่ใช่เน้นสร้างสังคมแห่งความดราม่า !! (drama-driven society)

ที่สำคัญ สื่อจีนไม่นำเสนอข่าวปลอมหรือข่าวที่จะสร้าง hate speech (แน่นอนว่า #กลไกคุมสื่อของรัฐบาลจีนอย่างเข้มงวด เป็นอีกเรื่องที่อาจจะมีการถกเถียงกันจากอีกมุมว่า เป็นจุดอ่อนในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและรับข่าวสารที่รอบด้าน ???? #เหรียญมี2ด้าน นะคะ)

อ่านข้อความที่เกี่ยวข้อง

#ถามมาตอบไป 🇨🇳 มีคำถามที่น่าสนใจจากกัลยาณมิตรท่านหนึ่งที่คิดว่าหลายท่านก็อาจจะสนใจฟังคำตอบ จึงขอนำมาแบ่งปันกันนะคะ…

โพสต์โดย Aksornsri Phanishsarn เมื่อ วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2020

3. #คนจีนมีความภูมิใจในชาติ คนจีนส่วนใหญ่มีความรักชาติยิ่งชีพและไม่ยอมให้ใครมาย่ำยี จีนจึงมีพลังความสามัคคีที่เกิดจากจิตสำนึกตัวเอง (ไม่ใช่ถูกบังคับ) ในความพยายามเอาชนะชาติตะวันตก เพื่อให้จีนกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง

คำถามตามมา คือ #แล้วทำอย่างไรคนจีนถึงได้ภูมิใจในชาติเช่นนี้

ข้อนี้สำคัญมาก ต้องปลูกฝังกันมายาวนานเป็น long term strategy ไม่ใช่แค่รอปัญหาเกิด แล้วเพิ่งคิดว่า จะให้คนรักชาติ และต้องปลูกฝังอย่างแยบยล

จีนปลูกฝังความรักชาติได้อย่างแยบยลและไม่ยัดเยียด (จนเกินงาม) แต่มีศิลปะในการค่อย ๆ แทรกซึมให้คนรักชาติ มีแรงฮึดที่จะร่วมกันฟื้นฟูชาติ เช่น เน้นย้ำข้อเท็จจริงที่แสนเจ็บปวดจากการเคยถูกต่างชาติย่ำยี เช่น ช่วงปลายราชวงศ์ชิง จีนรบกับฝรั่งแต่ต้องแพ้ในช่วงสงครามฝิ่น จีนกลายเป็น “คนป่วยแห่งเอเชีย” และต่อมา จีนโดนญี่ปุ่นย่ำยีช่วงสงครามโลก มาจนถึงยุคนี้ สหรัฐฯ โดยคุณทรัมป์พยายามกดดันหาเรื่องจีนในสารพัดรูปแบบมาโดยตลอด

ทั้งหมดนี้ ยิ่งปลุกเร้าความรักชาติของคนจีนให้มี #ความฝันของจีน” Zhongguo Meng “ ที่จะต้องผงาดอย่างยิ่งใหญ่ กลับมาผงาดเป็น Middle Kingdom ของโลก (ชื่อประเทศจีนในภาษาจีนกลาง แปลว่า อาณาจักรศูนย์กลาง) อีกครั้งให้จงได้ #TheGreatRejuvenation

ยุคสีจิ้นผิง ตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา จีนจึงเน้นคำขวัญแห่งชาติในเรื่องนี้ #ฟื้นฟูชาติ และสื่อจีนก็นำเสนอข้อมูลไปในทิศทางนี้ เพื่อเป็น #พลังบวกสร้างความฮึกเหิมในเชิงแข่งขัน/สร้างสรรค์ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้ชนะฝรั่ง การส่งออกแพลตฟอร์มจีนไปบุกโลก เช่น TikTok เน้นด้าน soft power ของจีนในยุคดิจิทัลที่ออกไปแทรกซึมอย่างเนียน ๆ ไปทั่วโลก

อ่อ แม้กระทั่งรถไฟความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ผลิตในยุคสีจิ้นผิงก็ชื่อว่า รุ่นฟู่สิง หรือ รุ่นฟื้นฟูชาติ !!

จีนมีเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจนและเป็นความฝันของคนในชาติร่วมกันที่จะไปให้ถึง/ทำให้ได้ คือ

วาระครบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1 ก.ค 2564 หรือปีหน้านี้) จีนจะเป็น “สังคมเสี่ยวคัง” คือ คนจีนทุกคนต้องไม่จน/อยู่ดีกินดีถ้วนหน้า ผู้นำจีนตระหนักดีว่า ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าคนจีนไม่เดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ก็จะไม่ลงถนน ‼

วาระครบ 100 ปี สร้างชาติจีน (1 ต.ค. 2592) จีนจะต้องเป็นชาติที่ทรงอิทธิพล (ที่สุด) ของโลก ‼️ จีนจะฟื้นฟูชาติ/จะกลับมาเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของโลกอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ จีนไม่ทำ 3 ไม่ (don’t) ที่จะสร้างความแตกแยกในชาติ “3 ไม่” จะมีอะไรบ้าง เคยเขียนไว้ชัดแล้ว ถ้าสนใจ ชวนคลิกอ่านบทความนี้ของดิฉันได้เลยค่ะ https://www.thansettakij.com/content/world/425501

สรุปคือ บริบทต่างกันค่ะ

มีอีกหลายปัจจัยที่ถกเถียงกันได้ค่ะ เช่น จีนคุมสื่อได้ จีนคุม data จีนบล็อก social media จากต่างชาติ ไม่มีต่างชาติมาแทรกแซงทำให้คนจีนไม่มีความแตกแยกในชาติ คนจีนมุ่งเน้นทำมาหากิน คนจีนส่วนใหญ่ไม่หมกมุ่นการเมืองค่ะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ไม่มีคำตอบตายตัว แล้วจะมองจากมุมไหนนะคะ

note 1) : ขอย้ำว่า โพสต์นี้กำลังเขียนถึง “ประเทศจีน” และจีนมีบริบทที่แตกต่างกับหลายประเทศ จึงต้องอ่านอย่างไตร่ตรอง และคงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในประเทศอื่นที่มีบริบท/ปัจจัยรากฐานที่แตกต่างกันนะคะ ????

2) จนถึงวันนี้ แม้จีนจะไม่มีปัญหาทางการเมือง #จีนยังคงมีปมปัญหามากมาย /มีแผลฝังลึกที่ยังแก้ไม่สำเร็จอีกหลายเรื่อง ถ้าสนใจ ปมปัญหาจีน คลิกอ่านบทวิเคราะห์นี้ของดิฉันได้ค่ะ https://thestandard.co/unveil-china-economy-leaked/

 

Credit : https://www.facebook.com/aksornsri.phanishsarn

Credit : https://www.thansettakij.com/content/politics/445739

- Advertisement -